วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case Method)

กรณีตัวอย่าง
วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  (Case Method)

            ปัจจุบันการนำเสนอกรณีตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด ได้ตอบคำถาม และอภิปรายร่วมกัน จัดเป็นวิธีการสอนได้ที่ผู้สอนนำมาใช้มากพอสมควร เพราะเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ได้เต็มที่ เพราะคำตอบที่ได้จะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ผู้เรียนจึงมีโอกาสใช้ความคิดในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ในเรื่องต่างๆ ที่ผู้สอนได้กำหนด ได้มากยิ่งขึ้น
            เพื่อให้ความเข้าใจการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างให้มากขึ้น ในบทนี้กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอนที่สำคัญในการสอน เทคนิคข้อเสนอแนะของการสอน และข้อดี ข้อจำกัดของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง พร้อมด้วยสรุปท้ายบท  กิจกรรมและคำถามของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างด้วย

ความหมาย
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 362) อธิบายว่า วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงและตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น แล้วนำคำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบนั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
            วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดของผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น  (ทิศนา  แขมมณี2550362)

องค์ประกอบของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 362) กล่าวว่า องค์ประกอบที่สำคัญของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง มีดังนี้
1. มีผู้สอนและผู้เรียน
2. มีกรณีเรื่องที่คล้ายกับเหตุการณ์จริง
3. มีประเด็นคำถามให้คิดพิจารณาหาคำตอบ
4. มีคำตอบที่หลากหลาย คำตอบไม่มีถูกผิดอย่างชัดเจนหรือแน่นอน
5. มีการอภิปรายเกี่ยวกับสภาพการณ์ ปัญหา มุมมอง และวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
6. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ขั้นตอนของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  
ทิศนา  แขมมณี (2550 : 362-363) กล่าวถึงขั้นตอนของการโดยใช้กรณีตัวอย่าง มีดังนี้
1. ผู้สอนผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง
2. ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง
3. ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
4. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ
5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ปัญหาของผู้เรียน และสรุป
การเรียนรู้ที่ได้รับ
6. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                                     
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างให้มีประสิทธิภาพ
(ทิศนา  แขมมณี2550363)
               1. การเตรียมการ ก่อนการสอน ผู้สอนจำเป็นต้องเตรียมกรณีตัวอย่างให้พร้อม กรณีตัวอย่างที่เหมาะสมจะต้องมีสาระซึ่งจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง กรณีที่นำมาใช้ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่มีสถานการณ์ปัญหาขัดแย้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความคิดของผู้เรียน หากไม่มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง ผู้สอนอาจใช้วิธีการตั้งประเด็นคำถามที่ท้าทายให้ผู้เรียนคิดก็ได้ ผู้สอนอาจนำเรื่องจริงมาเขียนเป็นกรณีตัวอย่างหรืออาจใช้เรื่องจากหนังสือพิมพ์ ข่าว และเหตุการณ์รวมทั้งจากสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ เป็นต้น เมื่อได้กรณีที่ต้องการแล้วผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ต้องการ
               2. การนำเสนอกรณีตัวอย่าง ผู้สอนอาจเป็นผู้นำเสนอกรณีตัวอย่าง หรืออาจใช้เรื่องจริงจากผู้เรียนเป็นกรณีตัวอย่างก็ได้ (แต่ครูต้องมีความชำนาญในการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างนั้น และตั้งประเด็นคำถามได้เร็ววิธีการนำเสนอทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์เป็นข้อมูลมาให้ผู้เรียนอ่าน การเล่ากรณีตัวอย่างให้ฟัง หรือนำเสนอโดยใช้สื่อ เช่น สไลด์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรืออาจให้ผู้เรียนแสดงเป็นละครหรือบทบาทสมมติก็ได้
               3. การศึกษากรณีตัวอย่างและการอภิปราย  ผู้สอนควรแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยและให้เวลาอย่างเพียงพอในการศึกษากรณีตัวอย่าง และคิดหาคำตอบ ไม่ควรให้ผู้เรียนตอนประเด็นคำถามทันที ผู้เรียนแต่ละคนควรมีคำตอบของตนเตรียมไว้ก่อน แล้วจึงร่วมกันอภิปรายเป็นกลุ่ม และนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนกันผู้สอนพึงตระหนักว่าการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างนี้ มิได้มุ่งที่ความถูกต้องของคำตอบ คำถามสำหรับการอภิปรายนี้ ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและเหตุผลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดที่กว้างขึ้น มองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลายขึ้น อันจะช่วยให้การตัดสินใจมีความรอบคอบขึ้น ด้วยเหตุนี้การอภิปรายจึงควรมุ่งความสนใจไปที่เหตุผลหรือที่มาที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ

ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง 
ทิศนา  แขมมณี (2550364) กล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างไว้ ดังนี้
          ข้อดี 
1) เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี
วิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
2) เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงและได้ฝึกแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้น ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะแก้ปัญหา เมื่อเผชิญปัญหานั้นในสถานการณ์จริง
3) เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนสูง ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน
4) เป็นวิธีสอนที่ให้ผลดีมากสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่มีความรู้และประสบการณ์หลาก
หลายสาขา
            ข้อจำกัด
          1) หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้างเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน
2) หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่
กว้างเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน
3) แม้ปัญหาและสถานการณ์จะใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ กับผู้เรียน ความคิดในการแก้ปัญหาจึงมักเป็นไปตามเหตุผลที่ถูกที่ควร ซึ่งอาจไม่ตรงกับการปฏิบัติจริงได้

วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและ แก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ ความคิดขอผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น


การนำเสนอกรณีตัวอย่าง
ผู้สอนอาจเป็นผู้นำเสนอกรณีตัวอย่าง หรืออาจใช้เรื่องจริงจากผู้เรียนเป็นกรณี ตัวอย่างก็ได้ วิธีการนำเสนอทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์เป็นข้อมูลมาให้ผู้เรียนอ่าน การเล่ากรณี ตัวอย่างให้ฟัง หรือนำเสนอโดยใช้สื่อ เล่น สไลด์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรืออาจให้ผู้เรียนแสดงเป็น ละครหรือบทบาทสมมติก็ได้

การศึกษากรณีตัวอย่างและการอภิปราย
ผู้สอนควรแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยและให้เวลาอย่างเพียงพอในการศึกษากรณี ตัวอย่างและคิดหาคำตอบ แล้วจึงร่วมกันอภิปรายเป็นกลุ่มและนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ผู้สอนพึงตระหนักว่าการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง มิได้มุ่งที่คำตอบใด คำตอบหนึ่ง ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและ เหตุผลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดที่กว้างขึ้น มองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลายขึ้น อันจะช่วยให้การตัดสินใจมีความรอบคอบขึ้น ด้วยเหตุนี้ การอภิปรายจึงควรมุ่งความสนใจไปที ่ เหตุผลหรือที่มาของความคิดที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
3. เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้จาก กันและกัน
ข้อจำกัด
หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้าง เท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน
วิธีสอนการใช้กรณีตัวอย่าง (Case) 
วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง  (Case) 
ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 362-364) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้
วิธีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงและตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น แล้วนำคำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบนั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ 
วัตถุประสงค์ เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัู้เรีญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดของผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
1.      องค์ประกอบที่สำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน โดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  
2.      มีผู้สอนและผู้เรียน
3.      มีกรณีเรื่องที่คล้ายกับเหตุการณ์จริง
4.      มีประเด็นคำถามให้คิดพิจารณาหาคำตอบ
5.      มีคำตอบที่หลากหลาย คำตอบไม่มีถูกผิดอย่างชัดเจนหรือแน่นอน
6.      มีการอภิปรายเกี่ยวกับสภาพการณ์ ปัญหา มุมมอง และวิธีการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
7.      มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

สรุปท้ายบท

          การสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง หมายถึง การที่ผู้สอนให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องที่เกิดขึ้นจากความเป็นจริงที่ผู้สอนได้กำหนดให้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยผู้สอนกำหนดประเด็นคำถามให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด นำเหตุผลและคำตอบที่ได้มาอภิปรายร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ ได้มุมมองที่กว้างขึ้น 
            ในการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างจึงประกอบไปด้วย ผู้สอน ผู้เรียน กรณีตัวอย่าง  ประเด็นคำถามที่ครูกำหนด การสรุปอภิปราย และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  ขั้นตอนการสอนที่สำคัญ คือ ผู้สอนนำเสนอกรณีตัวอย่าง โดยให้ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่างเพื่อที่จะได้คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และตอบคำถามที่ผู้สอนกำหนดให้ จากนั้น ผู้เรียนอภิปรายสรุปเป็นคำตอบร่วมกัน และสุดท้ายผู้สอนจะต้องสรุปการอภิปรายผลจากบทเรียน และทำการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป
            การสอนวิธีนี้ผู้สอนจะต้องเตรียมกรณีตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด  โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 4-5 คน และในการสอนจะต้องให้เวลากับผู้เรียนเพื่อศึกษากรณีตัวอย่างให้เหมาะสม ให้เวลามากพอสมควร ดังนั้นการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง จึงมีข้อดี คือ ผู้เรียนได้เกิดความคิดที่กว้างขวางมากขึ้น คิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน  แต่มีข้อจำกัดตรงที่หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้างเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน และแม้ปัญหาและสถานการณ์จะใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ กับผู้เรียน ความคิดในการแก้ปัญหาจึงมักเป็นไปตามเหตุผลที่ถูกที่ควร ซึ่งอาจไม่ตรงกับการปฏิบัติจริงได้
ที่มา
ทิศนา  แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
http://rawikaewsuksai.blogspot.com/2012/12/case-2552-362-364-case-case-case-               case.html.[Online]เข้าถึงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2561”

www.gotoknow.org/posts/217786.[Online]. เข้าถึงวันที่  1 กันยายน พ.ศ.2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)