ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)



ทิศนา แขมมณี(2555) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน(Eclecticism) กาเย่ (Gagne' ) เป็นนักจิตวิทยาและการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยมโดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน
ทฤษฎีการเรียนรู้กาเย่ (Gagne’)
1. การเรียนรู้สัญญาณ     
2. การเรียนรู้สิ่งเร้า - การตอบสนอง
3. การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
4. การเชื่อมโยงทางภาษา
5. การเรียนรู้ความแตกต่าง
6. การเรียนรู้ความคิดรวบยอด
7. การเรียนรู้กฎ
8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา

ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ (2543) กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Gagne     ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ  แล้วสรุปเป็น  8  ขั้นตอนในการเรียนรู้
1.  การเรียนรู้สัญญาณ  ( Sign  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด  เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ 
2.  การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ( Stimulus  Response  Learning ) เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายต่อสิ่งเร้า  เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง 
3.  การเรียนรู้การเชื่อมโยง  ( Chaining )   เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ 
4.  การเชื่อมโยงทางภาษา  ( Verbal  Association ) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด  แล้วจึงใช้ตัวอักษร 
5.  การแยกประเภท  ( Multiple  Discrimination  Learning ) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกัน  เป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษา  สามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้
6.  การเรียนรู้ความคิดรวบยอด  ( Concept  Learning ) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ  
7.  การเรียนรู้หลักการ  ( Principle  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กัน แล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น  
8.  การเรียนรู้การแก้ปัญหา  ( Problem - Solving ) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหา  เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา 

สยุมพร ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเยไว้ดังนี้แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ
การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้
                ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
 ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
 ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
 ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
 ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
 ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
 ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
 ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
 ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

สรุป
การเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเยว่า  กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน  ได้แก่เร่งเร้าความสนใจ บอกวัตถุประสงค์ ทบทวนความรู้เดิม นำเสนอเนื้อหาใหม่   ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ จะมีความสอดคล้องกับการผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สัญญาณเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างอัตโนมัติการเรียนรู้สิ่งเร้า -การตอบสนอง การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง การเชื่อมโยงทางภาษา การเรียนรู้ความแตกต่าง  ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ผสมผสานกัน.

ที่มา
ทิศนา แขมมณี.(2555).[online].http://surinx.blogspot.com/เข้าถึงวันที่ 31กรกฎาคม 2561.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2543). ทฤษฎีการเรียนรู้.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.       
สยุมพร ศรีมุงคุณ..[online]. (https://www.gotoknow.org/posts/341272)เข้าถึงวันที่ 31กรกฎาคม 2561.


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case Method)

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์