บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

รูปภาพ
ทฤษฎีพหุปัญญา  (Multiple Intelligences Theory) ก.   ทฤษฎีการเรียนรู้ ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์  (Gardner)  จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  (Harvard University)  ในปี ค . ศ . 1983  เขาได้เขียนหนังสือชื่อ  “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences”   ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ  “ เชาว์ปัญญา ”  เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับเชาว์ปัญญา  (Intelligences)  ที่มีมาตั้งแต่เดิมนั้น จำกัดอยู่ที่ความสามารถด้านภาษา ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลเป็นหลัก การวัดเชาวน์ปัญญาของผู้เรียนจะวัดจากคะแนนที่ทำได้จากแบบทดสอบทางสติปัญญา ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบความสามารถทั้ง  2  ด้านดังกล่าว คะแนนจากการวัดเชาว์ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดเชาว์ปัญญาของบุคคลนั้นไปตลอด เพราะมีความเชื่อว่า องค์ประกอบของเชาวน์ปัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยหรือประสบการณ์มากนัก แต่เป็นคุณลักษะที่ติดตัวมาแต่กำเนิด การ์ดเนอร์  (Gardner, 1983)  ให้น

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล( Information Processing Theory)                   ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล( Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์   โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง    ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า    การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์     หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้    คือ    การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น    จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน    สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย    หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ    ได้เป็นเวลานาน    สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส( encoding)   เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว    วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี    เช่น    การท่องจำซ้ำๆ    การทบทวน    หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด                ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล( Information Processing Theory )                    เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับก

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)

รูปภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย ( Gagne's eclecticism) https://sites.google.com/site/mahasukawanno/ro-beirt-ka-ye-robert-gange ทิศนา แขมมณี( 2555)  กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน( Eclecticism)  กาเย่ ( Gagne' )  เป็นนักจิตวิทยาและการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยมโดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน ทฤษฎีการเรียนรู้กาเย่ ( Gagne’) 1.  การเรียนรู้สัญญาณ       2.  การเรียนรู้สิ่งเร้า - การตอบสนอง 3.  การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง 4.  การเชื่อมโยงทางภาษา 5.  การเรียนรู้ความแตกต่าง 6.  การเรียนรู้ความคิดรวบยอด 7.  การเรียนรู้กฎ 8.  การเรียนรู้การแก้ปัญหา ปรียาพร   วงศ์อนุตรโรจน์ ( 2543)  กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้ของ   Gagne      ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ   แล้วสรุปเป็น   8  ขั้นตอนในการเรียนรู้ 1.   การเรียนรู้สัญญาณ   ( Sign  Learning )  เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด   เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ   2.   การเรียนรู้ความสัมพันธ์ร

ทฤษฎีกลุ่มมนุษนิยม (Humanism)

รูปภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism) ทิศนา แขมมณี ( 2550 : 50 - 76)  กล่าวไว้ว่า    ได้กล่าวทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยมไว้ว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยยามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ , รอเจอร์ส ,  โคมส์ ,  โนลส์ ,  แฟร์ ,  อิลลิช    และนีล                 1.  ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์                  ก. ทฤษฎีการเรียนรู้                          1)  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น คือ ขั้นความต้องการทางร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ขั้นความต้องการความรัก ขั้นความต้องการยอมรับและการยกย่องจากสังคม และขั้นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ หากความต้องการขั้นพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียงสำหรับตนในแต่ละขั้น มนุษย์จะสามารถพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น                          2)  มนุษย์มีความต้องก